วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

หลังจาก...

หลังจากที่อาจารย์แนะนำให้ไปหา message ที่เราต้องการจะบอกมา ผมก็เลยกลับมาคิดว่า การใช้พลังงานของเรานั้น ถ้าเราประหยัดได้ก็จะ ลดค่าใช้จ่ายที่เราต้องเสียไปได้ ถ้าเริ่มที่การประหยัดของเรา และการใช้พลังงานนั้น มนุษย์ก็ไม่ต่างอะไรกับตัวที่กินพลังงาน จึงอยากลองทำการใช้เทคนิค light painting โดยแสดงถึงเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตประจำวันผมตอนอยู่ในห้อง และถ้าผมประหยัดขึ้นจะส่งผลอะไรกับผม ค่าใช้จ่ายลดลงแค่ไหน

light paint


อันนี้เป็นของแถม ตอนถ่ายแล้วนึกสนุก ส่องไฟไปที่มือ แล้วก็พบว่าน่าจะทำเป็นตัวหนังสือ เลยลองทำเล่นๆ






หลังจากนั้นก็ลองนำตัวหนังสือมาใส่กับรูป










































หลังจากที่อาจารย์แนะนำ ให้ลองมาวาดเป็นตัวหนังสือ เลยนำกลับมาทำ ปัญหาที่พบคือ การวาดนั้นเส้นจะทับกัน จนดูไม่ออก ต้องวาดอยู่หลายรอบ

ลองทำเล่นๆ




ก่อนที่จะทำเรื่องถอดโครงสร้างด้วย light painting เลยนึกว่าการตัดทอนมีสไตล์ไหนบ้าง เลยเจอหนังสือกราฟฟิตี้ ที่มีมีการฉีดด้วยสเปร์สี การที่จะฉีดพวกนี้ได้ รูปควรมีรูปแบบที่ง่าย ถูกตัดทอนมาแล้ว จึงลองทำเล่นๆ ด้วยการลงสีด้วยเส้น แทนที่จะลงสีเต็มๆ

ถ่านขยะมลพิษ

ถ่านไฟฉายได้หาข้อมูลมา เพิ่งจะรู้ว่าบ้านเรายังมีวิธีการกำจัดขยะประเภทนี้ไม่ดีพอ พอทำไปก็มีเรื่องใกล้ตัวเลย เคยมีคนรู้จักใช้ถ่ายอัลคาไรล์หรอถ่านที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง มาใส่กล้องถ่ายรูป และพอถ่านหมดก็นำถ่านไปทิ้ง ถังขยะทั่วไป และลองถามว่าทำไมถึงใช้ ได้คำตอบมาว่า ซื้อใช้สะดวกและไม่ต้องแบกที่ชาร์จ และถ่านชาร์จใช้หมดต้องคอยเก็บถ่านอีก ซึ่งมันเป็นสาเหตุนี้เองที่อยากจะพูด ควรใช้ถ่านเสร็จแล้ว ควรนำไปทิ้งขยะที่เป็นถังสีแดง เพราะว่าเค้าจะนำไปกำจัดให้ถูกวิธี ถ้าเราจำเป็นต้องใช้ถ่านบ่อยๆ ควรใช้ถ่านชาร์จดีกว่าเพราะเป็นการลดจำนวนขยะพวกนี้ ขยะประเภทนี้ต้องกำจัดให้ถูกวิธี ถ้าเราทิ้งตามถังทั่วไปเค้าอาจจะนำไปฝังกลบ ซึ่งถ้าสารเคมีไหลออกมา สารพิษจะลงไปสะสมที่น้ำใต้ดินได้ หรือถ้าไปเผา ทั้งขี้เถ้าและควันที่เผามีสารพิษก็อาจก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกได้ จึงเห็นเรื่องนี้น่าสนใจ อยากนำเทคนิค light painting กับเนื้อหานี้

ทดลองๆ






















หลังจากได้เทคนิคมาแล้ว เลยลองคิดว่าถ้าเราตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป ก็เลยลองทำว่าถ้าเราจะตัดอะไรออกแต่ยังคง โครงสร้างของเดิม เมื่อดูแล้วและยังใจ เลยทำเทคนิค light painting โดยวาดแต่โครงสร้างของสิ่งของนั้นๆ เพื่อดูว่าจะเห็นผลอย่างไร






วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การใช้ทรัพยากรหรือพลังงานอย่างคุ้มค่า

จากที่ฟังเรื่องในห้องมา หัวข้อที่ได้รับมาคือเรื่องการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ผมได้นึกถึงเรื่องฟิวส์เซลล์ ที่ฟังอาจารย์สรุป ว่าฟิวส์เซลล์นั้นที่ไม่ค่อยได้มีคนใช้ เพราะว่าผลิตมาแล้วจะมีปั๊มรองรับไหม หรือว่า ถ้าปรับทำมาก็จะมีรถผลิตออกมาเยอะรองรับ พอกับการที่เค้าจะทำตลาดไหม และในประเด็นนี้ผมจึงนำมาคิดต่อ

การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่านั้น จำเป็นหรอที่เราจะต้องรอให้ใครซักคนมา ทำก่อน หรือไม่กล้าที่จะทำ ผมจึงมองประเด็นให้เล็กลง ว่าน่าจะเป็นอะไรที่อยู่ใกล้ตัวเรา และสามารถช่วยให้ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ก็เลยคิดต่อว่า ที่เราไม่ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าเพราะอะไร มีประเด็นอะไรบ้าง ที่ทำไมเราถึงละเลยไปว่าสามารถทำได้ มันไม่ใช่แค่ว่าต้องมีการรณรงค์ อย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่น ถุงผ้า ที่ต้องการให้เลิกใช้ถุงพลาสติก หรือประหยัดไฟฟ้า ด้วยการรณรงค์ให้ปิดไปคนละ ห้านาที ทุกอย่างนั้นเป็นแต่การรณรงค์ที่ช่วยได้แค่ในระดับหนึ่ง ประเด็นที่ผมคิดว่าทำไมคนเราถึงไม่ใช้พลังงานให้คุ้มค่าเพราะอาจจะ...
1. เราอาจจะใกล้ตัวไป จนลืมนึกถึง
2. มันเป็นนิสัยไปแล้ว จึงไม่ได้คิด
ผมจึงคิดว่า ถ้าเราทำอะไรซักอย่างที่สามารถบอกคนอื่นได้ว่าการใช้พลังงานให้คุ้มค่านั้น มันอยู่ใกล้ตัวเราและสามารถทำได้ไม่ใช่เรื่องยาก และไม่ต้องจำเป็นว่า ต้องรอใครมารณรงค์

* หลังจากวันที่ได้รับประเด็นมา ก็ไปร้านข้าว แล้วเห็นแก้วน้ำซึ่งในแก้วนั้นได้มีการสกรีน เป็นลายจุด โดยที่ใช้เส้น และด้านในแทนที่จะลงสี ก็เป็นจุดเล็กๆ เต็มไปหมด ผมเลยคิดว่า วิธีการนี้มันน่าจะสื่อสารอะไรได้ ครบถ้วน พอๆ กับการที่เราลงสีแบบเต็มๆ

ประเด็นที่ 2

ผมคิดอีกประเด็นหนึ่งได้ดูโฆษณา แล้วนึกถึงโครงการเกษตรบูรณาการณ์ ที่เคยโฆษณา นายแดง กับ นายเขียว ตัวอย่างของนายเขียวดูน่าสนใจดี คือตอนแรกเค้าปลูกสวน โดยปลูกอ้อย ข้าวโพด สมุนไพร ไม้ยืนต้น และขุดบ่อปลา ส่วนนายแดงปลูกแต่อ้อย ซึ่งเป็นสินค้าที่ราคาดีจริง แต่ผลสุดท้าย นายแดงก็ไม่เหลืออะไร แต่นายเขียว ก็ยังอยู่ที่เดิม ผมว่ามันเห็นผลเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าจริงๆ และคงเป็นโครงการใหม่ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก แต่ผมก็ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อไปดี

** คิดออกละจะมาต่อนะคร๊าบ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551