Post-Modern
หลังจากที่ได้แปลหนังสือ เรื่อง no more rule ได้ซักพัก จึงรู้ว่า ศัพท์ยากจัง แปลละงง เรียงเป็นคำพูดไม่ถูก แต่ในความคิดของผมซึ่งที่เข้าใจคือ Post-Modern เป็นเหมือนศิลปะชนิดหนึ่งที่ถูกแอบแฝงอยู่ในยุค modern โดยตอนแรกเป็นกลุ่มคนเล็กๆ และในช่วงนั้นไม่เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป และได้มีการยึดหลักแนวคิดของตัวเอง คือการทำงานที่ทำลายหลักเกณฑ์ในการออกแบบ จนมาถึงจุดที่ประสบความสำเร็จกลุ่ม Post-Modern นี้ได้ทำงานร่วมกับนักดนตรีแนวพั๊ง ร๊อค ในระยะแรกๆ และทำให้ผมนึกถึง ศิลปะ กราฟิตี้ ของแนวเพลงฮิปฮอป ที่มีเรื่องราวคล้าย กัน คือฮิปฮอปในความคิดของบางคนก็คิดว่า เป็นศิลปะชั้นต่ำ ที่ทำให้บ้านเมืองดูสกปรก แต่ก็ยังมีกลุ่มหนึ่งที่คิดว่าเป็นศิลปะที่ดี มีการยึดหลักการในตัวเอง ไม่เปลี่ยนแปลง บ่งบอกถึงสไตล์ ของเค้า งานPost-Modernในความคิดของผมก็น่าจะเหมือนกันกับที่กล่าวมา
และหลังจากที่แปล ผมได้ชอบประโยคที่ศิลปินคนหนึ่งที่เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับ Postmodern คือ กฏมีไว้เป็นสิ่งที่ดี แต่เราควรที่จะแหกกฏ...
NO MORE RULES GRAPHIC DESIGN AND POSTMODERNISM
คำว่า Postmodern ถูกใช้ครั้งแรกๆ ในปี 1968 ในการออกแบบนิตยสารอังกฤษ
ในทศวรรษที่ 1970 คำว่า Postmodern ถูกใช้อย่างต่อเนื่องในงานด้านสถาปัตยกรรม Charles Jencks ให้ความคิดเกี่ยวกับ Postmodern มากที่สุดในหนังสือของเขา The Language of Post-Modern Architecture ในปี 1977 เขาโต้แย้งว่า สถาปัตยกรรม postmodern ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของ modern ในแง่ของความรู้สึกและเทคโนโลยีที่ใช้
ในด้านกราฟฟิกดีไซน์ Wolfgang Weingart เป็นคลื่นลูกใหม่ ที่ถูกเรียกว่า postmodernist - เก่งด้าน Typography เขาชื่นชอบผลลัพธ์ของการช่องว่างระหว่างตัวอักษร เขายืดคำและบรรทัดจนกระทั่งข้อความชิดกันและอ่านไม่ออก ในปี 1972 และ 1973 เขาได้ออกแบบปกนิตยสาร 14 ปกให้กับนิตยสาร Typografische Monatsblatter
ผลงานของ Weingart มีอิทธิพลอย่างมากกับการออกแบบของอเมริกา
ในปี 1971 Dan Friedman ได้ออกแบบปกนิตยสาร Typografische Monatsblatter ลักษณะปกเป็นตัวอักษรลอยอยู่เหนือ Time Square ในเมือง Manhattan ในปี 1976 โปสเตอร์ของ Friedman สำหรับหนังสือพิมพ์ Space ได้ถูกตีพิมพ์โดย the Institute for Vision and Energy ซึ่งมีรูปภาพ เช่น โซฟา พิมพ์ดีด คู่รัก และอื่นๆ ลอยอยู่ในอวกาศ
ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 Weingart ได้ออกแบบโปสเตอร์ให้กับพิพิธภัณฑ์และองค์กรวัฒนธรรมอื่นๆอีก โปสเตอร์ในงานแสดง Kunstkredit ในปี 1977 ได้ถูกสร้างมาจากชิ้นส่วนต่างๆ ของแผ่นฟิล์มนำมารวมกันวางบนแผ่นฟิล์มพื้นฐานแล้วย้ายลงไปบนแผ่น offset litho printing plate ผลงานโปสเตอร์ชิ้นที่สองในงานแสดง Kunstkredit ในปี 1979 แสดงให้เห็นถึงตาราง รูปแบบ รอยฉีกที่ขอบ รูปทรงไม่แน่นอน และ เท็กเจอร์
ปี 1977 Wilburn Bonnell นักออกแบบอเมริกัน ได้จัดงานแสดงชื่อว่า Postmodern Typography: Recent American Developments' ที่ Ryder Gallery ใน ชิคาโก Bonnell ได้แรงบันดาลใจในการทำงานจากคำการใช้ในการเขียนด้านสถาปัตยกรรม การแสดงประกอบด้วยผลงานของ Friiedman, Greiman, Steff Geissbuhler, Willi Kunz, Bonnell และ คนอื่นๆ
โปสเตอร์ของ Willi Kunz ที่สร้างในปี 1978 สำหรับงานแสดงถ่ายโดย Fredrich Cantor ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างอันเยี่ยมยอดสำหรับการออกแบบ postmodern โปสเตอร์ใช้วิธีการจัดวางโดยให้ชื่อของผู้ถ่ายภาพมีขนาดใหญ่ ในขณะที่ชื่อภาพมีขนาดเล็ก โดยมีตัวอักษร F อยู่ในแถบแนวตั้งสีขาว ภาพหลักของนักแสดง Marcello Mastroianni จัดวางคู่กับภาพที่เล็กกว่าของหญิงคนหนึ่งในบาร์ และมีข้อความสีแดงพาดไปกับภาพหลัก
ในปลายทศวรรษ 1980 เริ่มมีการใช้ภาพสามมิติเข้ามาเกี่ยวข้อง กลุ่มออกแบบ The Memphis ใช้วิธีการพิมพ์รูปแบบหลากหลายที่มีสีสรรต่างๆ บนพลาสติกลามิเนต
ปกของแคตตาลอก Memphis ฉบับแรก ในปี 1981 ใช้รูปเหลี่ยมแหลมเป็นส่วนประกอบและโลโก Memphis ก็เป็นแพทเทริน ที่ดูคล้ายบล็อค และเป็นลวดลายที่ประกอบด้วยเส้นตรงและวงกลม
ในปี 1981 การออกแบบปกอัลบัมเพลงของวง the Dadaist Swiss โดย Yello แสดงให้เห็นถึงรูปทรงแปลกประหลาดสองอัน ซึ่งอาจจะใช้แทนสมาชิกของวง ซึ่งถูกสร้างมาจากกลุ่มของวัตถุที่ใช้อ้างถึงสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เครื่องใช้ภายในบ้าน และของใช้อันหรูหรา รูปภาพอันนึงที่มีลักษณะเป็นรูปศีรษะทรงกรวย จะมีช่องหน้าต่างแคบๆใช้แทนดวงตา และมีกำแพงที่ยื่นออกมาเป็นจมูก ส่วนอีกรูปหนึ่งนั้น ดวงตาด้านซ้ายจะคล้ายกับช่องระบายอากาศ ทั้งสองรูปจัดวางตกแต่งด้วยแพทเทรินหรือเทกเจอร์ที่คล้ายกับของ Memphis และตัวอักษรที่ใช้เป็นชื่อกลุ่มก็เป็นรูปแบบที่ผสมกัน
ในซานฟรานซิสโก Michael Vanderbyl ผู้นำของกลุ่มคลื่นลูกใหม่ของชาวแคลิฟอร์เนียได้สร้างผลงานขึ้นมาจำนวนหนึ่ง ในปี 1983 โปสเตอร์โปรโมทของ Simpson Paper เป็นรูปของกลุ่มคนที่กระโดดจากตึกระฟ้าสมัยใหม่ซึ่งแทนด้วย grid ข้ามช่องว่าง ไปยังเสาหินสไตล์ classic
Memphis mailer ที่ถูกออกแบบในปี 1985 แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของคลื่นลูกใหม่ที่มีผลทางด้านธุรกิจ ตัวอักษรในสไตล์ Memphis ที่อยู่ในคำ Innovation แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องกันของตัวอักษรที่ทำในรูปแบบและน้ำหนักที่ต่างกัน และช่องว่างระหว่างตัวอักษรก็ใช้แสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ของ Memphis ในแนวทแยง
ในปี 1983 ผลงานโปสเตอร์โดยนักออกแบบชาวอเมริกา William Longhauser ที่ทำให้กับ การแสดงของ Michael Graves แต่ละตัวอักษรของ Graves จะอ้างถึงรูปทรงทางสถาปัตยกรรม เห็นได้ชัดจากตัวอักษร V ซึ่งจำลองมาจากตึก Portland
ในขณะที่อเมริกาที่การให้ความสนใจกับ postmodern เป็นอย่างมาก แต่ในอังกฤษเองกลับไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับยุคนี้มากนัก เหตุผลอาจจะเป็นเพราะ Modern ไม่ค่อยมีอิทธิพลกับการออกแบบกราฟฟิกในอังกฤษ มากนัก ในอังกฤษนั้น คลื่นลูกใหม่ (new wave) ถูกใช้ในเพลงสไตล์ youth culture และ popular มากกว่า และนักออกแบบเหล่านี้พยายามวางตำแหน่งตนเองให้ออกมาจากการออกแบบของเหล่านักมืออาชีพต่างๆ
ผลงานชิ้นแรกที่ปรากฏออกมาในรูปของ rock music ซึ่งทำโดย Barney Bubbles, Saville, Brody และ Malcolm Garrett หนังสือเพลงสำหรับ Ian Dury ซึ่งออกแแบบโดย Bubbles ในปี 1979 ซึ่ง Bubbles ได้ออกแบบโดยคำนึงถึงแนวทางการออกแบบระดับนานาชาติ ปกหนังสือเวอร์ชั่นหนึ่งออกแบบให้มีลักษณะของตารางที่มีการวางทับซ้อนกันอย่างไม่มีระเบียบ มีรูปของ Dury ที่ใช้หมึกวาดแบบจุดๆ มีรูปภาพที่อยู่ในแบบ Swiss Punk ภายในหนังสือ Bubbles ยังมีภาพของสมาชิกในวงที่ทำให้ดูลึกลับอีกด้วย
Malcolm Garrett ได้ออกแบบปกให้กับอัลบัม The Correct Use of Soap ของวง Magazine ในปี 1980 โดยรวมตัวอักษรธรรมดา เข้ากับวัตถุที่มีการตกแต่งสวยงามเพื่อสร้างออกมาให้มีสัดส่วนสมมาตรกัน
สำหรับผลงาน 23-inch single Someone Somewhere (In Summbertime) ในปี 1982 Garrett กลับใช้ฟอนต์ที่มีความหรูหราสวยงามแทน
ในขณะที่ Garrett และ Brody พยายามแสดงผลงานออกแบบออกมาให้เด่นชัดเพื่อจูงใจคนชม Saville กลับใช้วิธีการลดจำนวนสีลงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน ผลงานของ Saville ในปี 1980 ได้ออกแบบปกให้กับ Closer โดยใช้องค์ประกอบต่างๆ ให้น้อยที่สุด ด้านในของปกจะเป็นสีขาว แต่ละหน้าจะมีองค์ประกอบของกรอบที่เหมือนกัน มีเพียงรูปภาพที่อยู่บนปกเท่านั้นที่เป็นรูปภาพขาวดำซึ่งถ่ายโดย Bernard Pierre Wolff ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคนสี่คนที่อยู่ในเสื้อคลุมยาวแสดงการไว้ทุกข์ให้กับคนตาย ซึ่งภาพนั้นไม่สามารถบอกได้ว่าใช้สื่อถึงพระเยซูคริสต์หรือใครคนอื่น
โพสตน์โมเดริ์น เป็นส่วนหนึ่งของยุคโมเดิร์นลิซึ่ม ซึ่งในยุกสมัยนี้ผุ้คนอาจจะมองว่า โมเดิร์นลิซึ่มเป็นสิ่งที่สวยงามในเชิงบวก แต่โพสต์โมเดริ์นเป็นในทางเชิงลบ เพราะยุคนี้เป็นยุคของการที่แหกกฏเกณฑ์ในการออกแบบ โดยไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ไม่มี grid โดยได้แรงบันดาลใจมาจากสิ่งรอบๆ ตัว และได้มีศิลปินที่พูดเกี่ยวกับในยุคนี้ได้ที่น่าสนใจได้แก่ อีลูอีสที่ว่า เค้าเชื่อว่าการใช้ text ใช้ผิดใช้ถูกในการจัดวาง ก็ไม่ต้องไปสนใจ
ขอแค่สามารถสื่อสารได้ก็พอ การใช้เ text ที่มีรูปแบบอาจทำให้แค่รู้สึกว่าตื้นเต้นและสวยงาม
และในปี 1981 ทีบอ คาลแมน ได้พูดคำพูด 2 ประโยค ที่น่าสนใจคือ กฏเกณฑ์มีนั้นดี แต่เราควรที่จะแหกกฎ
และในปี 1960 ได้มีตัวอย่างงานออกแบบที่ถูกสร้างโดยผู้ที่ไม่ใช่นักออกแบบ ซึ่งงานพวกนี้จะไม่สนใจกฏเกณฑ์ในการออกแบบ ที่มีอยู่ พวกเขาเรียนรู้จากการทำงานจริง และงานของกลุ่มพวกนี้ไม่เป็นที่ยอมรับในสมัยนั้นๆ โดยการเผยแพร่งานในยุคนี้ อาศัยพวกสิ่งพิมพ์ ต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ ใบปลิว เป็นตัวในการเผยแพร่งาน ข้อจำกัดในยุคโมเดริ์นนั้คือ ความคิดที่ถูกกำหนดด้วยกฎเกณฑ์และความนิยมชมชอบ จึงเป็นการยากที่จะให้คนทั่วไปรู้จักศิลปะแนวนี้ จึงอาจจะมีแค่กลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ ที่ชมชอบผลงานนี้ ถึงแม้เค้าจะเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญ บอลเฟเยอราเบ็น ได้สรุปว่าหลักการของกลุ่มนี้ คือ ทุกสิ่งทุกอย่าง ต้องดำเนินไป
ในยุค โพสต์โมเดริ์น นั้นได้ถูกตั้งเป็นคำถามซ้ำๆ ถึงความเกี่ยวพันที่ระหว่างงานที่มีคุณค่ามาก หรือว่า รูปแบบงานที่ไร้ค่า โดยงานในสมัยนี้มาจากรูปแบบวัฒนธรรม และในงานของยุคนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับทางด้านดนตรีมาเกี่ยวพันด้วย โดยผู้ที่ชื่นชอบ เพลงคลาสสิค งานแนวนี้ไม่เป็นที่ยอมรับในกลุ่มนี้ โดยงานของเค้าไม่ได้เปลี่ยนสไตล์ไปเลย ยังคงทำงานแนวเดิมอยู่ เพื่อปกป้องแนวคิดของเค้า แต่ก็มีคนวิจารย์ว่า เป็นแนวคิดที่ถูกต้องหรือวิธีที่ผิดในการสื่อสารด้วยภาพ
ในปี 1970 และ ต้นปี 80 ศิลปินกราฟฟิคสไตล์นี้ได้ทำงานร่วมกับศิลปินเพลง พวก พั๊ง ร็อค ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นเหมือนผู้สนับสนุน งานของกลุ่มนี้ และในการออกแบบของสไตล์นี้ช่วงต้นๆ มี Jamie Reid เป็นแกนนำสำคัญในสมัยนั้น ในเรื่องการปฏิเสธ ทฤษฏีในการออกแบบ ด้วยทฤษฏีนี้จึงได้กลายเป็นลักษณะเด่นของพวกกลุ่มพั๊งค์
ในช่วงยุคกลางปี 1960 รีดได้รู้จักกับแมกราเร็นซึ่งเป็นผู้จัดการของวง SEX PISTOLS ในปี 1970 รีดได้ออกแบบนิตยสารชื่อ Suburban Press ซึ่งเป็นหนังสือที่เน้นเรื่องการเมืองท้องถิ่น เขาได้ค้นพบทฤษฏีในการออกแบบ ที่ได้ทดลองคล้ายกับศิลปินใต้ดิน ของปี 1960 โดยการเขาตัดพาดหัวของหนังสือพิมพ์มาใช้กับสื่อ
และเขาได้คิดวิธีการพิมพ์สติ๊กเกอร์บนกระดาษสะท้อนแสง ในการทำโฆษณาลดราคา ด้วยการ เขียนคำโฆษณา ที่ว่า “อนุรักษ์น้ำมัน เผารถทิ้งซะ” และ “พิเศษร้านค้านี้ต้อนรับนักขโมยของ” ซึ่งถูกแปะตามร้านและข้างถนนในลอนดอน งานแรกทำปกให้กับวง SEX PISTOLS และในปีนั้นเป็นช่วงที่ฉลอง สิริราช ของราชินี ด้วยการออกแบบปกให้เป็นรูปราชินีที่มีคำเขียนตัวหนังสือ ด้วยการ ตัดแปะคล้ายกลับ หนังสือเรียกค่าถ่ายอัลบั้มแรกของวง SEX PISTOLS เป็นคำที่การใช้ตัวหนังสือ โดยมีการเขียนคำว่า Never mind Here’s the Sex Pistols ซึ่งมีการใช้สีที่แรงโดยมีการใช้สีพื้นหลังสือเหลือง และใช้ตัวหนังสือที่แตกต่างกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก