วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

โพสโมเดริ์น 2

ในปี 1978 ได้มีแนวดนตรีใหม่ที่เป็น ดนตรีอิเล็กโทรนิค เกิดขึ้นในสมัยนี้ และมี อัลบั้มแนวเพลงนี้ที่มีชื่อเสียง คือ Die Mensch –Maschine และปกหน้าเป็นที่แตกต่างจากทั่วไป จาก ดิสโก้ ร็อค และพั๊ง โดยหน้าปกเป็นรูปสมาชิกสี่คน ใส่เสื้อเชิ้ตสีแดง ผูกไทร์สีดำ โดยทำเป็นเส้นทแยง อยู่กับกรอบ และหลังจากนั้นได้มีการยอมรับที่จะให้ สีแดง สีดำ และสีขาว เป็นสีหลักของงาน และปกหลังเป็นการนำรูปทรงเลขาคณิตมาใช้ ในแนวทแยง และใช้สีหลักเหมือนปกหน้า เหมือนกัน ออกแบบโดย EL Lissitzky ให้กับวง Kraftwerk โดยถือว่าเป็นแนวความคิดที่แตกต่าง แนวใหม่ในการออกแบบ
สัญลักษณ์ปกวง Kraftwerk ได้เป็นสัญลักษณ์ที่ยอมรับเป็นโพสต์โมเดริ์น และในปีหลัง1970 ที่ Britain
Barney Bubbles ได้พัฒนากราฟฟิคโพสโมเดริ์นขยายออกไปอย่างกว้างขึ้นด้วยการ นำนักออกแบบรุ่นใหม่มาทำงานร่วมด้วย เค้าทำงานให้กับ hippy rock group Hawkwind และในปี 1976 ปีนี้มีความเป็นพั๊งสูง
ในปีนี้เค้าได้ทำงานที่เกิดลักษณะที่เรียกว่า post-punk สังเกตได้จาก หน้าปกอัลบั้ม Music for pleasure
โดยจะมีลักษณะที่เป็น abstract นิดๆ โดยมีการใช้เส้นและรูปทรงที่ซิกแซ็ก และวงกลมเล็กๆ และสัญลักษณ์ และมีการใช้สีที่เรียบผสมเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวที่มีพลัง ในยุคนี้เป็นจุดเริ่มต้นของนักออกแบบสมัยใหม่
Peter Saville ในปี 1981 ได้มีการออกแบบงานที่ชื่อว่า Movement ในงานนี้เป็นการทำที่ตรงข้ามกับกฎของการออกแบบ โดยการใช้เส้น สี่เส้นและตัวหนังสือ สามบรรทัด และใช้สี่ 2 สีเป็นสีหลัก และเป็นที่สะดุดตามากในขณะนั้น
ในปี 1980 มีนักออกแบบที่มีการออกแบบแตกต่างจากนักออกแบบอเมริกันทั่วๆไป คือ Paula Scher โดยออกแบบปก Dance The Night Away โดยเธอยังคงความเป็นภาพประกอบต้นฉบับที่เป็นแนว Futurist Style และรวมกับตัวหนังสือ ของตนเอง

ความรู้สึกที่มีต่อช่วงเวลานี้ คือรู้สึกว่างานเค้าจะเป็นงาเหมือนพวกสมัยเก่า ที่รูจากรูปทรงหรือว่าการใช้สีของเค้า
แต่เค้าเริ่มจะมีแนวคิดที่ว่าเค้าต้องแตกต่าง และกล้าที่จะทดลองอะไรใหม่ ซึ่งอยู่นอกกฏเกณฑ์ งานของเค้าจะมีสมดุล ที่เป็นแบบอสมมาตร ถ้าสังเกตจากหลายๆ งาน และในยุคนี้เริ่มมีการ ทำงานที่คล้ายกับแนวปัจจจุบันเกิดขึ้นมา ซึ่งก็คือ มีความเป็นระเบียบ ไม่ดิบมาก แต่ก็ยังคงความเป็นโพสต์โมเดริ์นได้ ซึ่งทำให้รู้สึกประทับใจ โดยส่วนตัวผมแล้ว เป็นคนที่ชอบอะไรเรียบร้อยมีหลักเกณฑ์ แต่งานที่ประทับใจคืองานของ Peter Saville ซึ่งงานของเค้านั้น จะมีการใช้สีที่ดูสดใส และเรียบง่ายแต่ แฝงไปด้วยความทันสมัย ทั้งเรื่องการใช้สีและการ จัดองค์ประกอบ ของงานเค้า

ป้ายกำกับ:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก