วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Post-Modern - Techno

Art – Techno

ในช่วงทศวรรษที่ 1980 มีความพยายามที่จะนำเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในการออกแบบแต่ติดตรงที่ว่าเทคโนโลยียังค่อนข้างใหม่อยู่ และมีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดเมมโมรี่และความสามารถในการประมวลผล นักออกแบบชาวอเมริกันฝั่งตะวันตกหลายคน เช่น April Greiman และทีม Emigre, Rudy VanderLans และ Zuzana Licko ได้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ Apple Macintosh ทันทีที่มันถูกวางจำหน่ายในปี 1984 และได้ทำการทดลองใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทันที

สำหรับ Greiman คอมพิวเตอร์นั้นเป็นสิ่งใหม่ที่เข้ามาบุกเบิกยุคใหม่ให้กับนักกราฟฟิคทั้งหลาย Greiman เข้าใจในทันทีว่าคอมพิวเตอร์จะมาเปลี่ยนแปลงกระบวนการออกแบบทั้งหลาย เทียบกับการออกแบบโดยใช้อุปกรณ์ประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็น ดินสอ สี หมึก อุปกรณ์เหล่านี้เวลาทำการ “ลบ” จะไม่สามารถลบได้สะอาดหมดจด จะต้องมีร่องรอยเหลือไว้บ้าง ในขณะที่ฟังก์ชั่น “undo” ในคอมพิวเตอร์ สามารถทำการลบสิ่งที่ไม่ต้องการได้อย่างสะอาดหมดจด ในระบบดิจิตอลนั้นไม่มีคำว่า “สิ้นสุด” ตราบใดที่ยังมีไฟล์คอมพิวเตอร์เหลืออยู่ งานทุกชิ้นสามารถนำกลับมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

ในช่วงต้นนั้นภาพกราฟฟิคในคอมพิวเตอร์นั้นจะเป็นภาพที่มีความละเอียดต่ำทำให้ดูเหมือนว่าก้าวถอยหลังกลับไปยุคเก่าๆ ในบทความชื่อว่า “The New Primitives” VanderLans และ Licko ได้อ้างคำพูดของ Piet Zwart ว่า “We are the primitives of the new technical era” และได้โต้แย้งไว้ว่า ภาพกราฟฟิคที่ดูหยาบเช่นนี้สามารถเป็นพื้นฐานให้กับความสวยงามในคอมพิวเตอร์ต่อไป

คอมพิวเตอร์ได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายเข้าไปถึงผู้ใช้ภายในบ้าน และโรงเรียน ทำให้นักออกแบบเหล่านี้ซึมซับการใช้คอมพิวเตอร์เข้าไปด้วย Licko ได้แสดงตัวอย่างของ John Hersey นักวาดภาพประกอบชาวซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นภาพปกแคตตาลอคที่สร้างในปี 1987 สำหรับหนังสือ Pacific Wave

Greiman ได้ใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบโปสเตอร์ทั้งสองด้านขนาด 2x6 ฟุต ซึ่งออกแบบให้กับนิตยสาร Design Quarterly ในปี 1986 Greiman ได้อธิบายถึงขั้นตอนการออกแบบของเธอไว้ว่า ใช้เวลาหกเดือนสำหรับรวบรวมวัสดุ สามเดือนสำหรับการร่างโดยโปรแกรม MacPaint และ วาดภาพโดยใช้ MacVision และสามเดือนสำหรับ ประกอบ ตกแต่ง เรียบเรียง โดยโปรแกรม MacDraw ก่อนที่จะพิมพ์ออกมา ภาพในโปสเตอร์แสดงให้เห็นถึงรูปของ Greiman เองในท่ายืน เปลือย ซึ่งล้อมรอบไปด้วยภาพเล็กๆ อีกหลายภาพ เช่น ไดโนเสาร์ สมอง นักบินอวกาศ เป็นต้น มีเส้นตารางเวลาระบุถึงการคิดค้นพัฒนาต่างๆ รวมทั้งวันเกิดของเธอเองด้วย

จุดสำคัญในโปสเตอร์ของ Greiman ก็คือ ความเลยเถิด ไม่ว่าจะในแง่ของความคิด ขนาด รายละเอียด และปริมาณของข้อมูล สำหรับนักออกแบบจำนวนมากในแง่ของการออกแบบนั้นจะต้องกำจัดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป ในต้นทศวรรษที่ 1990 ในขณะที่ความสามารถในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์พัฒนาไปอย่างรวดเร็วนั้น การออกแบบบนหน้าจอก็เริ่มซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น

ในภาพของ P.Scott Makela ซึ่งเป็นภาพสมองสีส้มกำลังละลาย ถูกสร้างในปี 1990 ใช้เพื่อการโฆษณาการแสดง Cranbrook Design: The New Discourse

ในโปรเจค Redefining Display ของ Design Quarterly ในปี 1993 Makela ได้ใช้ความสามารถคอมพิวเตอร์ในการทำงานอย่างเต็มที่ เขาโทรศัพท์หลายครั้งในขณะที่เขารันงาน 6 โปรแกรมพร้อมๆ กัน เขาส่งแฟกซ์ อีเมลล์ อ่าน bulletin บอร์ด ดูโทรทัศน์เพื่อหาภาพหรือเทกเจอร์ที่น่าสนใจ

Makela ได้ออกแบบฟอนต์ชื่อ Dead History และบันทึกแผ่นเสียงสำหรับ Emigre โดยใช้ชื่อ Telepresence and Waiting with Baudrillard นอกจากนี้เค้ายังมีผลงานสิ่งพิมพ์อีกหลายชิ้น

ผลงานของ Designers Republic (DR) ซึ่งถูกค้นพบใน Sheffield ประเทศอังกฤษในปี 1986 โดย Ian Anderson ในขณะที่ Makela ให้ความสนใจกับภาพถ่ายหรือภาพโทรทัศน์ในลักษณะสมจริง แต่ผลงานของ DR จะดูเป็นกราฟฟิคมากกว่า เช่นเดียวกับ Makela, DR เองก็เข้ามามีส่วนร่วมในยุคของ Postmodern เช่นกัน

ผลงานของ DR คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมากเช่นกัน มีการใช้รูปร่างและสัญลักษณ์ จุด วงกลม ลูกศร หัวใจ เส้นขนาน และตาราง รวมเข้าด้วยกันทำให้ดูเหมือนตารางหรือแผนผังแนววิทยาศาสตร์ เน้นไปที่โลโก ภาพตัวการ์ตูน องค์ประกอบแนวญี่ปุ่น ข้อมูลทางด้านเทคนิคและข้อความแฝงต่างๆ ในปี 1993 DR ได้ออกแบบปกแผ่นเสียงของ Magic Juan Atkins ซึ่งมีลักษณะเป็นกลุ่มของจุด เรียงต่อเป็นเส้น เหมือนวิ่งผ่านด้วยความเร็ว มีลัษณะเหมือนการปล่อยคลื่นพลังงานไฟฟ้า

แรงบันดาลใจของ DR ได้มาจากอุปกรณ์เครื่องใช้อิเลคทรอนิคส์ ยูเอฟโอ ภาพยนตร์เช่น Blade Runner และนิยายวิทยาศาสตร์ Dr ได้เข้ามามีส่วนร่วมในโปรเจคของ Warp Records, Sony, MTV, Warner Brothers และ the Ministry of Sound นอกจากนี้ DR ยังได้ก่อตั้ง Pho-Ku Corporation ซึ่งให้สโลแกนไว้ว่า “Buy nothing. Pay now.”

ตัวอย่างของผลงานนี้คือ ตุ๊กตาที่ประดิษฐ์ขึ้น ชื่อว่า Sissy ที่สร้างโดย Dr Deth Toys ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ The Designers Republic ตุ๊กตา Sissy มีตาสีน้ำเงิน ผมสีบลอนด์มัดรวมกัน แต่งตัวมีระบาย และดูเหมือนมีอายุสามปี ด้านหลังเธอถือไม้เบสบอลขนาดใหญ่ที่มีคำว่า “I love my DR” สินค้านี้ถูกโฆษณาว่าเป็นตุ๊กตาสำหรับเด็กอายุ 16 ปีขึ้นไป ด้วยสโลแกนที่ว่า “she is cute she will kill you” และไม่รวมแบตเตอรี่ Sissy มีสปอนเซอร์จาก DR Cola แรกเริ่มรูปนี้จะเป็นแค่เอาท์ไลน์ แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นรูปสามมิติ ที่ทำให้มีลักษณะคล้ายกับตัวละครในเกมส์คอมพิวเตอร์หรือตุ๊กตาญี่ปุ่น หน้าเธอ ผม แขนขา เสื้อผ้า ไม่เหมือนจริง ดูเป็นพลาสติก

ผลงานของ Me Company จากกรุงลอนดอน รูปจำลองสามมิติกลายเป็นเรื่องปกติทั่วไป นิยายวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมญี่ปุ่นมีอิทธิพลอย่างมากในโลกดิจิตอล ได้มีการออกแบบ Cyborg สิ่งที่ผสมผสานกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร ในผลงานชุดของนักร้อง Bjork บริษัท Me Company ได้เอาหน้าของเธอมาดัดแปลงให้ได้เป็นหน้าปกผลงาน ซิงเกิลเพลง Army of Me ในปี 1995 นักออกแบบใช้ โปรแกรม Elastic Reality, 3D Studio, Form-Z, Infini-D, Photoshop และ Freehand สำหรับรวมเธอเข้ากับ Astro Boy การ์ตูนญี่ปุ่น เพื่อสร้างเป็น Astro Bjork ขึ้นมา

ส่วนผลงาน Bachelorette ในปี 1997 ได้นำรูปเธอซึ่งมีฉากหลังเป็นแสงสะท้อน รวมกันกับสวนแนว cyborg กลายออกมาเป็น organic-robot hybrids และสุดท้ายผลงาน Alarm Call ในปี 1998 หน้าเธอได้กลายมาเป็นชุดของคลื่น ที่ประกอบไปด้วยจุดมากมาย ให้ความรู้สึกเหมือนผีในเครื่องจักรดิจิตอล

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก