วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Post-Modern - Techno

Art – Techno

ในช่วงทศวรรษที่ 1980 มีความพยายามที่จะนำเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในการออกแบบแต่ติดตรงที่ว่าเทคโนโลยียังค่อนข้างใหม่อยู่ และมีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดเมมโมรี่และความสามารถในการประมวลผล นักออกแบบชาวอเมริกันฝั่งตะวันตกหลายคน เช่น April Greiman และทีม Emigre, Rudy VanderLans และ Zuzana Licko ได้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ Apple Macintosh ทันทีที่มันถูกวางจำหน่ายในปี 1984 และได้ทำการทดลองใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทันที

สำหรับ Greiman คอมพิวเตอร์นั้นเป็นสิ่งใหม่ที่เข้ามาบุกเบิกยุคใหม่ให้กับนักกราฟฟิคทั้งหลาย Greiman เข้าใจในทันทีว่าคอมพิวเตอร์จะมาเปลี่ยนแปลงกระบวนการออกแบบทั้งหลาย เทียบกับการออกแบบโดยใช้อุปกรณ์ประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็น ดินสอ สี หมึก อุปกรณ์เหล่านี้เวลาทำการ “ลบ” จะไม่สามารถลบได้สะอาดหมดจด จะต้องมีร่องรอยเหลือไว้บ้าง ในขณะที่ฟังก์ชั่น “undo” ในคอมพิวเตอร์ สามารถทำการลบสิ่งที่ไม่ต้องการได้อย่างสะอาดหมดจด ในระบบดิจิตอลนั้นไม่มีคำว่า “สิ้นสุด” ตราบใดที่ยังมีไฟล์คอมพิวเตอร์เหลืออยู่ งานทุกชิ้นสามารถนำกลับมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

ในช่วงต้นนั้นภาพกราฟฟิคในคอมพิวเตอร์นั้นจะเป็นภาพที่มีความละเอียดต่ำทำให้ดูเหมือนว่าก้าวถอยหลังกลับไปยุคเก่าๆ ในบทความชื่อว่า “The New Primitives” VanderLans และ Licko ได้อ้างคำพูดของ Piet Zwart ว่า “We are the primitives of the new technical era” และได้โต้แย้งไว้ว่า ภาพกราฟฟิคที่ดูหยาบเช่นนี้สามารถเป็นพื้นฐานให้กับความสวยงามในคอมพิวเตอร์ต่อไป

คอมพิวเตอร์ได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายเข้าไปถึงผู้ใช้ภายในบ้าน และโรงเรียน ทำให้นักออกแบบเหล่านี้ซึมซับการใช้คอมพิวเตอร์เข้าไปด้วย Licko ได้แสดงตัวอย่างของ John Hersey นักวาดภาพประกอบชาวซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นภาพปกแคตตาลอคที่สร้างในปี 1987 สำหรับหนังสือ Pacific Wave

Greiman ได้ใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบโปสเตอร์ทั้งสองด้านขนาด 2x6 ฟุต ซึ่งออกแบบให้กับนิตยสาร Design Quarterly ในปี 1986 Greiman ได้อธิบายถึงขั้นตอนการออกแบบของเธอไว้ว่า ใช้เวลาหกเดือนสำหรับรวบรวมวัสดุ สามเดือนสำหรับการร่างโดยโปรแกรม MacPaint และ วาดภาพโดยใช้ MacVision และสามเดือนสำหรับ ประกอบ ตกแต่ง เรียบเรียง โดยโปรแกรม MacDraw ก่อนที่จะพิมพ์ออกมา ภาพในโปสเตอร์แสดงให้เห็นถึงรูปของ Greiman เองในท่ายืน เปลือย ซึ่งล้อมรอบไปด้วยภาพเล็กๆ อีกหลายภาพ เช่น ไดโนเสาร์ สมอง นักบินอวกาศ เป็นต้น มีเส้นตารางเวลาระบุถึงการคิดค้นพัฒนาต่างๆ รวมทั้งวันเกิดของเธอเองด้วย

จุดสำคัญในโปสเตอร์ของ Greiman ก็คือ ความเลยเถิด ไม่ว่าจะในแง่ของความคิด ขนาด รายละเอียด และปริมาณของข้อมูล สำหรับนักออกแบบจำนวนมากในแง่ของการออกแบบนั้นจะต้องกำจัดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป ในต้นทศวรรษที่ 1990 ในขณะที่ความสามารถในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์พัฒนาไปอย่างรวดเร็วนั้น การออกแบบบนหน้าจอก็เริ่มซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น

ในภาพของ P.Scott Makela ซึ่งเป็นภาพสมองสีส้มกำลังละลาย ถูกสร้างในปี 1990 ใช้เพื่อการโฆษณาการแสดง Cranbrook Design: The New Discourse

ในโปรเจค Redefining Display ของ Design Quarterly ในปี 1993 Makela ได้ใช้ความสามารถคอมพิวเตอร์ในการทำงานอย่างเต็มที่ เขาโทรศัพท์หลายครั้งในขณะที่เขารันงาน 6 โปรแกรมพร้อมๆ กัน เขาส่งแฟกซ์ อีเมลล์ อ่าน bulletin บอร์ด ดูโทรทัศน์เพื่อหาภาพหรือเทกเจอร์ที่น่าสนใจ

Makela ได้ออกแบบฟอนต์ชื่อ Dead History และบันทึกแผ่นเสียงสำหรับ Emigre โดยใช้ชื่อ Telepresence and Waiting with Baudrillard นอกจากนี้เค้ายังมีผลงานสิ่งพิมพ์อีกหลายชิ้น

ผลงานของ Designers Republic (DR) ซึ่งถูกค้นพบใน Sheffield ประเทศอังกฤษในปี 1986 โดย Ian Anderson ในขณะที่ Makela ให้ความสนใจกับภาพถ่ายหรือภาพโทรทัศน์ในลักษณะสมจริง แต่ผลงานของ DR จะดูเป็นกราฟฟิคมากกว่า เช่นเดียวกับ Makela, DR เองก็เข้ามามีส่วนร่วมในยุคของ Postmodern เช่นกัน

ผลงานของ DR คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมากเช่นกัน มีการใช้รูปร่างและสัญลักษณ์ จุด วงกลม ลูกศร หัวใจ เส้นขนาน และตาราง รวมเข้าด้วยกันทำให้ดูเหมือนตารางหรือแผนผังแนววิทยาศาสตร์ เน้นไปที่โลโก ภาพตัวการ์ตูน องค์ประกอบแนวญี่ปุ่น ข้อมูลทางด้านเทคนิคและข้อความแฝงต่างๆ ในปี 1993 DR ได้ออกแบบปกแผ่นเสียงของ Magic Juan Atkins ซึ่งมีลักษณะเป็นกลุ่มของจุด เรียงต่อเป็นเส้น เหมือนวิ่งผ่านด้วยความเร็ว มีลัษณะเหมือนการปล่อยคลื่นพลังงานไฟฟ้า

แรงบันดาลใจของ DR ได้มาจากอุปกรณ์เครื่องใช้อิเลคทรอนิคส์ ยูเอฟโอ ภาพยนตร์เช่น Blade Runner และนิยายวิทยาศาสตร์ Dr ได้เข้ามามีส่วนร่วมในโปรเจคของ Warp Records, Sony, MTV, Warner Brothers และ the Ministry of Sound นอกจากนี้ DR ยังได้ก่อตั้ง Pho-Ku Corporation ซึ่งให้สโลแกนไว้ว่า “Buy nothing. Pay now.”

ตัวอย่างของผลงานนี้คือ ตุ๊กตาที่ประดิษฐ์ขึ้น ชื่อว่า Sissy ที่สร้างโดย Dr Deth Toys ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ The Designers Republic ตุ๊กตา Sissy มีตาสีน้ำเงิน ผมสีบลอนด์มัดรวมกัน แต่งตัวมีระบาย และดูเหมือนมีอายุสามปี ด้านหลังเธอถือไม้เบสบอลขนาดใหญ่ที่มีคำว่า “I love my DR” สินค้านี้ถูกโฆษณาว่าเป็นตุ๊กตาสำหรับเด็กอายุ 16 ปีขึ้นไป ด้วยสโลแกนที่ว่า “she is cute she will kill you” และไม่รวมแบตเตอรี่ Sissy มีสปอนเซอร์จาก DR Cola แรกเริ่มรูปนี้จะเป็นแค่เอาท์ไลน์ แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นรูปสามมิติ ที่ทำให้มีลักษณะคล้ายกับตัวละครในเกมส์คอมพิวเตอร์หรือตุ๊กตาญี่ปุ่น หน้าเธอ ผม แขนขา เสื้อผ้า ไม่เหมือนจริง ดูเป็นพลาสติก

ผลงานของ Me Company จากกรุงลอนดอน รูปจำลองสามมิติกลายเป็นเรื่องปกติทั่วไป นิยายวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมญี่ปุ่นมีอิทธิพลอย่างมากในโลกดิจิตอล ได้มีการออกแบบ Cyborg สิ่งที่ผสมผสานกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร ในผลงานชุดของนักร้อง Bjork บริษัท Me Company ได้เอาหน้าของเธอมาดัดแปลงให้ได้เป็นหน้าปกผลงาน ซิงเกิลเพลง Army of Me ในปี 1995 นักออกแบบใช้ โปรแกรม Elastic Reality, 3D Studio, Form-Z, Infini-D, Photoshop และ Freehand สำหรับรวมเธอเข้ากับ Astro Boy การ์ตูนญี่ปุ่น เพื่อสร้างเป็น Astro Bjork ขึ้นมา

ส่วนผลงาน Bachelorette ในปี 1997 ได้นำรูปเธอซึ่งมีฉากหลังเป็นแสงสะท้อน รวมกันกับสวนแนว cyborg กลายออกมาเป็น organic-robot hybrids และสุดท้ายผลงาน Alarm Call ในปี 1998 หน้าเธอได้กลายมาเป็นชุดของคลื่น ที่ประกอบไปด้วยจุดมากมาย ให้ความรู้สึกเหมือนผีในเครื่องจักรดิจิตอล

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

แนะนำเว็บ


วันนี้ไม่รู้จะทำไรเค้าไปอ่านในเว็บนึงมา แล้วมีลิงค์ จึงมีเว็บที่น่าสนใจมาและนำ
http://emilkozak.com/
ดูเว็บนี้ดูตัวงานของเค้าออกเป็นแนวสดใส ถึงอาจจะใช้อะไรที่ดูไม่เข้ากับความสดใส โดยส่วนตัวผมชอบการใช้สีของเค้า และการจัดวาง และงานของเค้าผมคิดว่าน่าจะเป็นสไตล์ โพสต์โมเดริ์นได้ เพราะเท่าที่ดูมา เหมือนเค้าทำการไม่มีกฏเกณฑ์ที่แน่นอนในการออกแบบซักเท่าไหร่ ผมจึงคิดว่าน่าจะอาจเรียกได้ว่าเป็น โพสตน์โมเดริ์น เพราะหลักของยุคนี้คือการทำลายกฏในการออกแบบ

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

โพสโมเดริ์น 2

ในปี 1978 ได้มีแนวดนตรีใหม่ที่เป็น ดนตรีอิเล็กโทรนิค เกิดขึ้นในสมัยนี้ และมี อัลบั้มแนวเพลงนี้ที่มีชื่อเสียง คือ Die Mensch –Maschine และปกหน้าเป็นที่แตกต่างจากทั่วไป จาก ดิสโก้ ร็อค และพั๊ง โดยหน้าปกเป็นรูปสมาชิกสี่คน ใส่เสื้อเชิ้ตสีแดง ผูกไทร์สีดำ โดยทำเป็นเส้นทแยง อยู่กับกรอบ และหลังจากนั้นได้มีการยอมรับที่จะให้ สีแดง สีดำ และสีขาว เป็นสีหลักของงาน และปกหลังเป็นการนำรูปทรงเลขาคณิตมาใช้ ในแนวทแยง และใช้สีหลักเหมือนปกหน้า เหมือนกัน ออกแบบโดย EL Lissitzky ให้กับวง Kraftwerk โดยถือว่าเป็นแนวความคิดที่แตกต่าง แนวใหม่ในการออกแบบ
สัญลักษณ์ปกวง Kraftwerk ได้เป็นสัญลักษณ์ที่ยอมรับเป็นโพสต์โมเดริ์น และในปีหลัง1970 ที่ Britain
Barney Bubbles ได้พัฒนากราฟฟิคโพสโมเดริ์นขยายออกไปอย่างกว้างขึ้นด้วยการ นำนักออกแบบรุ่นใหม่มาทำงานร่วมด้วย เค้าทำงานให้กับ hippy rock group Hawkwind และในปี 1976 ปีนี้มีความเป็นพั๊งสูง
ในปีนี้เค้าได้ทำงานที่เกิดลักษณะที่เรียกว่า post-punk สังเกตได้จาก หน้าปกอัลบั้ม Music for pleasure
โดยจะมีลักษณะที่เป็น abstract นิดๆ โดยมีการใช้เส้นและรูปทรงที่ซิกแซ็ก และวงกลมเล็กๆ และสัญลักษณ์ และมีการใช้สีที่เรียบผสมเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวที่มีพลัง ในยุคนี้เป็นจุดเริ่มต้นของนักออกแบบสมัยใหม่
Peter Saville ในปี 1981 ได้มีการออกแบบงานที่ชื่อว่า Movement ในงานนี้เป็นการทำที่ตรงข้ามกับกฎของการออกแบบ โดยการใช้เส้น สี่เส้นและตัวหนังสือ สามบรรทัด และใช้สี่ 2 สีเป็นสีหลัก และเป็นที่สะดุดตามากในขณะนั้น
ในปี 1980 มีนักออกแบบที่มีการออกแบบแตกต่างจากนักออกแบบอเมริกันทั่วๆไป คือ Paula Scher โดยออกแบบปก Dance The Night Away โดยเธอยังคงความเป็นภาพประกอบต้นฉบับที่เป็นแนว Futurist Style และรวมกับตัวหนังสือ ของตนเอง

ความรู้สึกที่มีต่อช่วงเวลานี้ คือรู้สึกว่างานเค้าจะเป็นงาเหมือนพวกสมัยเก่า ที่รูจากรูปทรงหรือว่าการใช้สีของเค้า
แต่เค้าเริ่มจะมีแนวคิดที่ว่าเค้าต้องแตกต่าง และกล้าที่จะทดลองอะไรใหม่ ซึ่งอยู่นอกกฏเกณฑ์ งานของเค้าจะมีสมดุล ที่เป็นแบบอสมมาตร ถ้าสังเกตจากหลายๆ งาน และในยุคนี้เริ่มมีการ ทำงานที่คล้ายกับแนวปัจจจุบันเกิดขึ้นมา ซึ่งก็คือ มีความเป็นระเบียบ ไม่ดิบมาก แต่ก็ยังคงความเป็นโพสต์โมเดริ์นได้ ซึ่งทำให้รู้สึกประทับใจ โดยส่วนตัวผมแล้ว เป็นคนที่ชอบอะไรเรียบร้อยมีหลักเกณฑ์ แต่งานที่ประทับใจคืองานของ Peter Saville ซึ่งงานของเค้านั้น จะมีการใช้สีที่ดูสดใส และเรียบง่ายแต่ แฝงไปด้วยความทันสมัย ทั้งเรื่องการใช้สีและการ จัดองค์ประกอบ ของงานเค้า

ป้ายกำกับ:

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เปลี่ยนบรรยากาศ ที่พักผ่อน



เช้าวันเสาร์ได้เดินทางไปเที่ยวที่เขาใหญ่ ซึ่งมีคนบอกว่าเริ่มหนาวแล้ว จึงอยากไปให้รู้ว่าหนาวซักแค่ไหน พอไปถึงจึงได้รู้ว่า หนาวจริงๆ ไม่อยากออกไปข้างนอกห้องเลย หนาวมากๆ แต่ก็รุ้สึกดีที่ได้เปลี่ยนสถานที่ ธรรมชาติ ดูไม่วุ่นวาย กับชีวิตที่ีเร่งรีบ


Post-Modern

หลังจากที่ได้แปลหนังสือ เรื่อง no more rule ได้ซักพัก จึงรู้ว่า ศัพท์ยากจัง แปลละงง เรียงเป็นคำพูดไม่ถูก แต่ในความคิดของผมซึ่งที่เข้าใจคือ Post-Modern เป็นเหมือนศิลปะชนิดหนึ่งที่ถูกแอบแฝงอยู่ในยุค modern โดยตอนแรกเป็นกลุ่มคนเล็กๆ และในช่วงนั้นไม่เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป และได้มีการยึดหลักแนวคิดของตัวเอง คือการทำงานที่ทำลายหลักเกณฑ์ในการออกแบบ จนมาถึงจุดที่ประสบความสำเร็จกลุ่ม Post-Modern นี้ได้ทำงานร่วมกับนักดนตรีแนวพั๊ง ร๊อค ในระยะแรกๆ และทำให้ผมนึกถึง ศิลปะ กราฟิตี้ ของแนวเพลงฮิปฮอป ที่มีเรื่องราวคล้าย กัน คือฮิปฮอปในความคิดของบางคนก็คิดว่า เป็นศิลปะชั้นต่ำ ที่ทำให้บ้านเมืองดูสกปรก แต่ก็ยังมีกลุ่มหนึ่งที่คิดว่าเป็นศิลปะที่ดี มีการยึดหลักการในตัวเอง ไม่เปลี่ยนแปลง บ่งบอกถึงสไตล์ ของเค้า งานPost-Modernในความคิดของผมก็น่าจะเหมือนกันกับที่กล่าวมา

และหลังจากที่แปล ผมได้ชอบประโยคที่ศิลปินคนหนึ่งที่เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับ Postmodern คือ กฏมีไว้เป็นสิ่งที่ดี แต่เราควรที่จะแหกกฏ...


NO MORE RULES GRAPHIC DESIGN AND POSTMODERNISM

คำว่า Postmodern ถูกใช้ครั้งแรกๆ ในปี 1968 ในการออกแบบนิตยสารอังกฤษ

ในทศวรรษที่ 1970 คำว่า Postmodern ถูกใช้อย่างต่อเนื่องในงานด้านสถาปัตยกรรม Charles Jencks ให้ความคิดเกี่ยวกับ Postmodern มากที่สุดในหนังสือของเขา The Language of Post-Modern Architecture ในปี 1977 เขาโต้แย้งว่า สถาปัตยกรรม postmodern ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของ modern ในแง่ของความรู้สึกและเทคโนโลยีที่ใช้

ในด้านกราฟฟิกดีไซน์ Wolfgang Weingart เป็นคลื่นลูกใหม่ ที่ถูกเรียกว่า postmodernist - เก่งด้าน Typography เขาชื่นชอบผลลัพธ์ของการช่องว่างระหว่างตัวอักษร เขายืดคำและบรรทัดจนกระทั่งข้อความชิดกันและอ่านไม่ออก ในปี 1972 และ 1973 เขาได้ออกแบบปกนิตยสาร 14 ปกให้กับนิตยสาร Typografische Monatsblatter

ผลงานของ Weingart มีอิทธิพลอย่างมากกับการออกแบบของอเมริกา

ในปี 1971 Dan Friedman ได้ออกแบบปกนิตยสาร Typografische Monatsblatter ลักษณะปกเป็นตัวอักษรลอยอยู่เหนือ Time Square ในเมือง Manhattan ในปี 1976 โปสเตอร์ของ Friedman สำหรับหนังสือพิมพ์ Space ได้ถูกตีพิมพ์โดย the Institute for Vision and Energy ซึ่งมีรูปภาพ เช่น โซฟา พิมพ์ดีด คู่รัก และอื่นๆ ลอยอยู่ในอวกาศ

ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 Weingart ได้ออกแบบโปสเตอร์ให้กับพิพิธภัณฑ์และองค์กรวัฒนธรรมอื่นๆอีก โปสเตอร์ในงานแสดง Kunstkredit ในปี 1977 ได้ถูกสร้างมาจากชิ้นส่วนต่างๆ ของแผ่นฟิล์มนำมารวมกันวางบนแผ่นฟิล์มพื้นฐานแล้วย้ายลงไปบนแผ่น offset litho printing plate ผลงานโปสเตอร์ชิ้นที่สองในงานแสดง Kunstkredit ในปี 1979 แสดงให้เห็นถึงตาราง รูปแบบ รอยฉีกที่ขอบ รูปทรงไม่แน่นอน และ เท็กเจอร์

ปี 1977 Wilburn Bonnell นักออกแบบอเมริกัน ได้จัดงานแสดงชื่อว่า Postmodern Typography: Recent American Developments' ที่ Ryder Gallery ใน ชิคาโก Bonnell ได้แรงบันดาลใจในการทำงานจากคำการใช้ในการเขียนด้านสถาปัตยกรรม การแสดงประกอบด้วยผลงานของ Friiedman, Greiman, Steff Geissbuhler, Willi Kunz, Bonnell และ คนอื่นๆ

โปสเตอร์ของ Willi Kunz ที่สร้างในปี 1978 สำหรับงานแสดงถ่ายโดย Fredrich Cantor ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างอันเยี่ยมยอดสำหรับการออกแบบ postmodern โปสเตอร์ใช้วิธีการจัดวางโดยให้ชื่อของผู้ถ่ายภาพมีขนาดใหญ่ ในขณะที่ชื่อภาพมีขนาดเล็ก โดยมีตัวอักษร F อยู่ในแถบแนวตั้งสีขาว ภาพหลักของนักแสดง Marcello Mastroianni จัดวางคู่กับภาพที่เล็กกว่าของหญิงคนหนึ่งในบาร์ และมีข้อความสีแดงพาดไปกับภาพหลัก

ในปลายทศวรรษ 1980 เริ่มมีการใช้ภาพสามมิติเข้ามาเกี่ยวข้อง กลุ่มออกแบบ The Memphis ใช้วิธีการพิมพ์รูปแบบหลากหลายที่มีสีสรรต่างๆ บนพลาสติกลามิเนต

ปกของแคตตาลอก Memphis ฉบับแรก ในปี 1981 ใช้รูปเหลี่ยมแหลมเป็นส่วนประกอบและโลโก Memphis ก็เป็นแพทเทริน ที่ดูคล้ายบล็อค และเป็นลวดลายที่ประกอบด้วยเส้นตรงและวงกลม

ในปี 1981 การออกแบบปกอัลบัมเพลงของวง the Dadaist Swiss โดย Yello แสดงให้เห็นถึงรูปทรงแปลกประหลาดสองอัน ซึ่งอาจจะใช้แทนสมาชิกของวง ซึ่งถูกสร้างมาจากกลุ่มของวัตถุที่ใช้อ้างถึงสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เครื่องใช้ภายในบ้าน และของใช้อันหรูหรา รูปภาพอันนึงที่มีลักษณะเป็นรูปศีรษะทรงกรวย จะมีช่องหน้าต่างแคบๆใช้แทนดวงตา และมีกำแพงที่ยื่นออกมาเป็นจมูก ส่วนอีกรูปหนึ่งนั้น ดวงตาด้านซ้ายจะคล้ายกับช่องระบายอากาศ ทั้งสองรูปจัดวางตกแต่งด้วยแพทเทรินหรือเทกเจอร์ที่คล้ายกับของ Memphis และตัวอักษรที่ใช้เป็นชื่อกลุ่มก็เป็นรูปแบบที่ผสมกัน

ในซานฟรานซิสโก Michael Vanderbyl ผู้นำของกลุ่มคลื่นลูกใหม่ของชาวแคลิฟอร์เนียได้สร้างผลงานขึ้นมาจำนวนหนึ่ง ในปี 1983 โปสเตอร์โปรโมทของ Simpson Paper เป็นรูปของกลุ่มคนที่กระโดดจากตึกระฟ้าสมัยใหม่ซึ่งแทนด้วย grid ข้ามช่องว่าง ไปยังเสาหินสไตล์ classic

Memphis mailer ที่ถูกออกแบบในปี 1985 แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของคลื่นลูกใหม่ที่มีผลทางด้านธุรกิจ ตัวอักษรในสไตล์ Memphis ที่อยู่ในคำ Innovation แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องกันของตัวอักษรที่ทำในรูปแบบและน้ำหนักที่ต่างกัน และช่องว่างระหว่างตัวอักษรก็ใช้แสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ของ Memphis ในแนวทแยง

ในปี 1983 ผลงานโปสเตอร์โดยนักออกแบบชาวอเมริกา William Longhauser ที่ทำให้กับ การแสดงของ Michael Graves แต่ละตัวอักษรของ Graves จะอ้างถึงรูปทรงทางสถาปัตยกรรม เห็นได้ชัดจากตัวอักษร V ซึ่งจำลองมาจากตึก Portland

ในขณะที่อเมริกาที่การให้ความสนใจกับ postmodern เป็นอย่างมาก แต่ในอังกฤษเองกลับไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับยุคนี้มากนัก เหตุผลอาจจะเป็นเพราะ Modern ไม่ค่อยมีอิทธิพลกับการออกแบบกราฟฟิกในอังกฤษ มากนัก ในอังกฤษนั้น คลื่นลูกใหม่ (new wave) ถูกใช้ในเพลงสไตล์ youth culture และ popular มากกว่า และนักออกแบบเหล่านี้พยายามวางตำแหน่งตนเองให้ออกมาจากการออกแบบของเหล่านักมืออาชีพต่างๆ

ผลงานชิ้นแรกที่ปรากฏออกมาในรูปของ rock music ซึ่งทำโดย Barney Bubbles, Saville, Brody และ Malcolm Garrett หนังสือเพลงสำหรับ Ian Dury ซึ่งออกแแบบโดย Bubbles ในปี 1979 ซึ่ง Bubbles ได้ออกแบบโดยคำนึงถึงแนวทางการออกแบบระดับนานาชาติ ปกหนังสือเวอร์ชั่นหนึ่งออกแบบให้มีลักษณะของตารางที่มีการวางทับซ้อนกันอย่างไม่มีระเบียบ มีรูปของ Dury ที่ใช้หมึกวาดแบบจุดๆ มีรูปภาพที่อยู่ในแบบ Swiss Punk ภายในหนังสือ Bubbles ยังมีภาพของสมาชิกในวงที่ทำให้ดูลึกลับอีกด้วย

Malcolm Garrett ได้ออกแบบปกให้กับอัลบัม The Correct Use of Soap ของวง Magazine ในปี 1980 โดยรวมตัวอักษรธรรมดา เข้ากับวัตถุที่มีการตกแต่งสวยงามเพื่อสร้างออกมาให้มีสัดส่วนสมมาตรกัน

สำหรับผลงาน 23-inch single Someone Somewhere (In Summbertime) ในปี 1982 Garrett กลับใช้ฟอนต์ที่มีความหรูหราสวยงามแทน

ในขณะที่ Garrett และ Brody พยายามแสดงผลงานออกแบบออกมาให้เด่นชัดเพื่อจูงใจคนชม Saville กลับใช้วิธีการลดจำนวนสีลงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน ผลงานของ Saville ในปี 1980 ได้ออกแบบปกให้กับ Closer โดยใช้องค์ประกอบต่างๆ ให้น้อยที่สุด ด้านในของปกจะเป็นสีขาว แต่ละหน้าจะมีองค์ประกอบของกรอบที่เหมือนกัน มีเพียงรูปภาพที่อยู่บนปกเท่านั้นที่เป็นรูปภาพขาวดำซึ่งถ่ายโดย Bernard Pierre Wolff ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคนสี่คนที่อยู่ในเสื้อคลุมยาวแสดงการไว้ทุกข์ให้กับคนตาย ซึ่งภาพนั้นไม่สามารถบอกได้ว่าใช้สื่อถึงพระเยซูคริสต์หรือใครคนอื่น

โพสตน์โมเดริ์น เป็นส่วนหนึ่งของยุคโมเดิร์นลิซึ่ม ซึ่งในยุกสมัยนี้ผุ้คนอาจจะมองว่า โมเดิร์นลิซึ่มเป็นสิ่งที่สวยงามในเชิงบวก แต่โพสต์โมเดริ์นเป็นในทางเชิงลบ เพราะยุคนี้เป็นยุคของการที่แหกกฏเกณฑ์ในการออกแบบ โดยไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ไม่มี grid โดยได้แรงบันดาลใจมาจากสิ่งรอบๆ ตัว และได้มีศิลปินที่พูดเกี่ยวกับในยุคนี้ได้ที่น่าสนใจได้แก่ อีลูอีสที่ว่า เค้าเชื่อว่าการใช้ text ใช้ผิดใช้ถูกในการจัดวาง ก็ไม่ต้องไปสนใจ
ขอแค่สามารถสื่อสารได้ก็พอ การใช้เ text ที่มีรูปแบบอาจทำให้แค่รู้สึกว่าตื้นเต้นและสวยงาม
และในปี 1981 ทีบอ คาลแมน ได้พูดคำพูด 2 ประโยค ที่น่าสนใจคือ กฏเกณฑ์มีนั้นดี แต่เราควรที่จะแหกกฎ

และในปี 1960 ได้มีตัวอย่างงานออกแบบที่ถูกสร้างโดยผู้ที่ไม่ใช่นักออกแบบ ซึ่งงานพวกนี้จะไม่สนใจกฏเกณฑ์ในการออกแบบ ที่มีอยู่ พวกเขาเรียนรู้จากการทำงานจริง และงานของกลุ่มพวกนี้ไม่เป็นที่ยอมรับในสมัยนั้นๆ โดยการเผยแพร่งานในยุคนี้ อาศัยพวกสิ่งพิมพ์ ต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ ใบปลิว เป็นตัวในการเผยแพร่งาน ข้อจำกัดในยุคโมเดริ์นนั้คือ ความคิดที่ถูกกำหนดด้วยกฎเกณฑ์และความนิยมชมชอบ จึงเป็นการยากที่จะให้คนทั่วไปรู้จักศิลปะแนวนี้ จึงอาจจะมีแค่กลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ ที่ชมชอบผลงานนี้ ถึงแม้เค้าจะเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญ บอลเฟเยอราเบ็น ได้สรุปว่าหลักการของกลุ่มนี้ คือ ทุกสิ่งทุกอย่าง ต้องดำเนินไป
ในยุค โพสต์โมเดริ์น นั้นได้ถูกตั้งเป็นคำถามซ้ำๆ ถึงความเกี่ยวพันที่ระหว่างงานที่มีคุณค่ามาก หรือว่า รูปแบบงานที่ไร้ค่า โดยงานในสมัยนี้มาจากรูปแบบวัฒนธรรม และในงานของยุคนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับทางด้านดนตรีมาเกี่ยวพันด้วย โดยผู้ที่ชื่นชอบ เพลงคลาสสิค งานแนวนี้ไม่เป็นที่ยอมรับในกลุ่มนี้ โดยงานของเค้าไม่ได้เปลี่ยนสไตล์ไปเลย ยังคงทำงานแนวเดิมอยู่ เพื่อปกป้องแนวคิดของเค้า แต่ก็มีคนวิจารย์ว่า เป็นแนวคิดที่ถูกต้องหรือวิธีที่ผิดในการสื่อสารด้วยภาพ
ในปี 1970 และ ต้นปี 80 ศิลปินกราฟฟิคสไตล์นี้ได้ทำงานร่วมกับศิลปินเพลง พวก พั๊ง ร็อค ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นเหมือนผู้สนับสนุน งานของกลุ่มนี้ และในการออกแบบของสไตล์นี้ช่วงต้นๆ มี Jamie Reid เป็นแกนนำสำคัญในสมัยนั้น ในเรื่องการปฏิเสธ ทฤษฏีในการออกแบบ ด้วยทฤษฏีนี้จึงได้กลายเป็นลักษณะเด่นของพวกกลุ่มพั๊งค์
ในช่วงยุคกลางปี 1960 รีดได้รู้จักกับแมกราเร็นซึ่งเป็นผู้จัดการของวง SEX PISTOLS ในปี 1970 รีดได้ออกแบบนิตยสารชื่อ Suburban Press ซึ่งเป็นหนังสือที่เน้นเรื่องการเมืองท้องถิ่น เขาได้ค้นพบทฤษฏีในการออกแบบ ที่ได้ทดลองคล้ายกับศิลปินใต้ดิน ของปี 1960 โดยการเขาตัดพาดหัวของหนังสือพิมพ์มาใช้กับสื่อ
และเขาได้คิดวิธีการพิมพ์สติ๊กเกอร์บนกระดาษสะท้อนแสง ในการทำโฆษณาลดราคา ด้วยการ เขียนคำโฆษณา ที่ว่า “อนุรักษ์น้ำมัน เผารถทิ้งซะ” และ “พิเศษร้านค้านี้ต้อนรับนักขโมยของ” ซึ่งถูกแปะตามร้านและข้างถนนในลอนดอน งานแรกทำปกให้กับวง SEX PISTOLS และในปีนั้นเป็นช่วงที่ฉลอง สิริราช ของราชินี ด้วยการออกแบบปกให้เป็นรูปราชินีที่มีคำเขียนตัวหนังสือ ด้วยการ ตัดแปะคล้ายกลับ หนังสือเรียกค่าถ่ายอัลบั้มแรกของวง SEX PISTOLS เป็นคำที่การใช้ตัวหนังสือ โดยมีการเขียนคำว่า Never mind Here’s the Sex Pistols ซึ่งมีการใช้สีที่แรงโดยมีการใช้สีพื้นหลังสือเหลือง และใช้ตัวหนังสือที่แตกต่าง
กัน

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

assignment



เป็นวิชาที่เรียนวันแรกและ ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ เรื่องหลัก ฟีโบเนชี่ ซึ่งเป็นทฤษฎีทางธรรมชาติ โดยการนำคำที่ว่า amount มาต่อกันด้วยจำนวนตามหลักฟีโบเนชี่ เป็นรูปกางเขน และใช้รูปทรงโค้งเพื่อ ให้เกิดความต่อเนื่องกัน โดยทุกอย่างทำมุม 45 องศา

รองเท้าผิดหวัง


วันศุกร์ได้ไปซื้อรองเท้า หลังจากที่ได้ไปมองไว้ที่พารากอน และวันศุกร์ที่ผ่านมาจึงได้ไปซื้อหลังจากเลิกเรียน แต่ต้องผิดหวังเพราะที่มองไว้เค้าได้ยกเลิกโปรโมชัน จึงได้ไปที่มาบุญครองและได้ดินดูรองเท้าหลายร้านมาก จึงได้รองเท้าคู่นี้มา รองเท้าใหม่ที่คิดไว้ว่าจะเป็นรองเท้าที่มีสีสัน แต่ได้รองเท้าแบบ เรียบๆ ตามเคย เพราะที่มองไว้ ไม่มีขนาดที่ใส่ได้เลย ซักคู่.......